สเต็มเซลล์จากกระแสเลือด (Peripheral Blood Stem cell : PBSC)
ㆍคู่มือการเตรียมตัวเข้ารับบริการ PBSC (ภาษาไทย-อังกฤษ)
ㆍคู่มือการเตรียมตัวเข้ารับบริการ PBSC (ภาษาจีน)
ㆍคู่มือการเตรียมตัวเข้ารับบริการ PBSC (ภาษาอาหรับ)
สเต็มเซลล์ คืออะไร?
สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด
สเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิด คือ เซลล์ตัวอ่อนที่เป็นจุดตั้งต้นของการเจริญเติบโตไปเป็นเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ เซลล์ต้นกำเนิดเหล่านี้จะมีอยู่ในเนื้อเยื่ออวัยวะเกือบทุกชนิดในร่างกาย และเป็นเซลล์ที่เมื่อเกิดการเสียหาย หรือการตายของเซลล์ตัวแก่ เซลล์ตัวอ่อนเหล่านี้จะแบ่งตัวเจริญเติบโตขึ้นมา ซ่อมแซมชดเชยเซลล์ที่เสียหายหรือตายเหล่านั้น
ปริมาณสเต็มเซลล์ในแต่ละช่วงอายุ (NUMBER OF STEM CELL)
ร่างกายของมนุษย์จะมีสเต็มเซลล์เพื่อทำหน้าที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิด ช่วยในการแบ่งตัวเพื่อชดเชยเซลล์และอวัยวะที่เสื่อมสภาพ แต่เมื่ออายุมากขึ้น สเต็มเซลล์ในร่างกายก็จะมีปริมาณลดลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กระบวนการซ่อมแซมร่างกายมีประสิทธิภาพลดลงด้วยเช่นกัน
Autologous Stem Cell Therapy
การบำบัดด้วยการใช้สเต็มเซลล์จากตนเอง
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ด้วยการใช้เซลล์ของตัวเอง (Autologous Stem Cell) ที่มีความปลอดภัยสูง มาบำบัดฟื้นฟูความเสื่อมของร่างกาย เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ดูอ่อนเยาว์ และมีอายุขัยที่ยืนยาว รวมถึงเป็นทางเลือกในการรักษา โรคบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาด้วยการรักษาแบบทั่วไป อาทิ โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น
เราสามารถคัดแยกเซลล์ในร่างกายได้จากส่วนใดบ้าง ?
ในอดีตการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ แพทย์จะใช้วิธีการเจาะไขกระดูกโดยตรง เพื่อนำสเต็มเซลล์ออกมาเพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก และก่อให้เกิดการบาดเจ็บแก่ร่างกาย แต่ในปัจจุบันเราสามารถฉีดยากระตุ้นเพื่อให้สเต็มเซลล์ออกมาอยู่ในกระแสเลือด ทำให้แพทย์สามารถเก็บสเต็มเซลล์ได้ง่าย ปลอดภัย และนำไปเพาะเลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
PBSC คืออะไร?
Peripheral Blood Stem Cell
PBSC Therapy เป็นโปรแกรมการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ด้วยการใช้เซลล์จากกระแสเลือดของตนเอง โดยเริ่มต้นด้วยการฉีดยากระตุ้นเพื่อให้สเต็มเซลล์ไหลเวียนเข้ามาในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น จากนั้นจะทำการจัดเก็บและคัดแยกสเต็มเซลล์ด้วยเครื่อง Apheresis และนำไปผ่านกระบวนการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้สเต็มเซลล์เพิ่มจำนวนและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น แล้วนำกลับมาฉีดเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟูหลอดเลือด รวมถึงการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ทั้งยังสามารถเก็บรักษาสเต็มเซลล์ของเราไว้ในระบบ Cryopreservation ที่อุณหภูมิ -196 °C โดยสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 10 ปี เพื่อให้สามารถนำสเต็มเซลล์ที่มีคุณภาพของเราในวันนี้ ไปใช้ได้ในอนาคต
ประโยชน์ของสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด (PBSC)
ㆍปลอดภัย เพราะเป็นสเต็มเซลล์จากตัวเอง
ㆍได้สเต็มเซลล์ปริมาณมาก
ㆍ มีจำนวนมากพอในการใช้ฟื้นฟูสุขภาพ
ㆍ สามารถเก็บได้หลายครั้ง ตลอดช่วงชีวิต
ㆍ สามารถเก็บรักษาไว้ใช้ในอนาคตได้
ㆍ ในขบวนการคัดแยกสเต็มเซลล์จะได้เซลล์ชนิดต่างๆ อาทิ
- HSCs สเต็มเซลล์เม็ดเลือด
- EPCs สเต็มเซลล์ซ่อมแซมหลอดเลือด
- NK Cells เม็ดเลือดขาวที่ใช้กำจัดมะเร็ง
- MSCs สเต็มเซลล์อวัยวะต่าง ๆ
ขั้นตอนการทำ PBSC
Day 1 ตรวจสุขภาพและตรวจเลือด (Blood Test)
Day 1-4 ฉีดยากระตุ้น (G-CSF Injection)
Day 5 เก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด (PBSC Collection) โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง
Day 8 ใช้ PBSC ในการบำบัดส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งบริเวณเฉพาะจุดหรือการให้ผ่านทางหลอดเลือด
Banking 10 Years สามารถเก็บสเต็มเซลล์ไว้ได้นาน 10 ปี
ข้อปฎิบัติตัว-การฉีดกระตุ้น
1. ควรฉีดยากระตุ้นในเวลาใกล้เคียงกันในแต่ละวัน โดยต้องฉีดติดต่อกัน 4 วัน
2. ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการฉีดกระตุ้น
3. กรณีได้รับยาละลายลิ่มเลือด ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
4. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาสมุนไพรทุกชนิด
5. การฉีดยากระตุ้นอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อ ครั่นตัว ปวดศีรษะ หรือมีไข้ต่ำๆ อาการเหล่านี้จะหายไปเอง หากมีอาการมากสามารถรับประทานยาพาราเซตามอล
ข้อปฎิบัติตัว-ก่อนการเก็บเลือด
1. ดูแลร่างกายไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บหรือเป็นแผล
2. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
3. หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดบริเวณข้อพับแขนทั้ง 2 ข้าง
4. ควรรับประทานอาหารมื้อหลักก่อนการเก็บเลือด (ใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง)
ข้อปฎิบัติตัว-หลังเข้ารับสเต็มเซลล์บำบัด
1. หลังเข้ารับสเต็มเซลล์บำบัดอาจเกิดอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย หรือมีไข้ต่ำๆ ได้
2. ควรรับประทานอาหารเสริมกลุ่มโปรตีนหรือให้วิตามินทางหลอดเลือดกลุ่มที่ให้พลังงานแก่เซลล์
3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการออกกำลังกายหนัก หลังจากการให้เซลล์อย่างน้อย 7 วัน
4. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่