โรคสโตรก ภัยเงียบที่ควรรู้ สัญญาณเตือน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โรคสโตรก ภัยเงียบที่ควรรู้ สัญญาณเตือน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

รู้หรือไม่ว่าสมองเป็นอวัยวะ ที่สำคัญสำหรับมนุษย์เพราะต้องใช้ในการคิด วิเคราะห์ และ ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง เป็นโรคที่อันตรายเช่น โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็งสมอง และโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังมี Stroke ที่เป็นอีก 1 โรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งบางท่านอาจไม่เข้าใจว่าโรคสโตรก มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับสมอง และความอันตรายอย่างไร ทำไมถึงมีความเสี่ยงมากขนาดนี้

โรคสโตรก คืออะไร 

สโตรก เกิดจาก ความผิดปกติของหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการ แตก ตีบ และ ตัน  เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกขัดขวาง จากไขมันในผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของหลอดเลือดไม่ดี มีผลทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนเสี่ยงต่อการเกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยเราจะรู้จักกันในชื่อ โรคหลอดเลือดสมอง หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลเป็นอย่างดี อาจส่งผลให้สมองเสียหายหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคนี้มีสัญญาณเตือนที่เคยเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่คุณอาจจะไม่ได้สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของโรค Stroke ได้

สัญญาณเตือนโรคสโตรก อาการที่พบได้บ่อย

สโตรก อาการเตือนเราสามารถสังเกตได้ หลัก ๆ มี 6 อาการเตือนโรคสโตรก ดังนี้

1.หน้าเบี้ยวผิดรูป ทานอาหารได้ลำบาก มีผลจากสมอง ควรไปตรวจเพื่อหาโรคที่เกี่ยวข้อง

2.แขนขาอ่อนแรง กำมือไม่ได้ หรือไม่มีแรงเดินจากความผิดปกติของระบบประสาท เป็นอาการเตือนของโรคสโตรก

3.เห็นภาพซ้อน การเห็นภาพซ้อนส่งผลจากหลอดเลือดมีการไหลเวียนไม่ดี ส่งผลต่อระบบสายตา และการมองเห็น ทำให้เกิดภาพซ้อน

4.เวียนหัวเป็นประจำ อาการเวียนหัวอันเนื่องมาจากเลือดที่ไหลเวียนไม่ดี 

5.สื่อสารไม่เข้าใจ มีผลเกี่ยวเนื่องมาจากการทำงานของสมองเช่นกัน 

6.พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง พูดลำบาก พูดไม่ชัด ก็เป็นสัญญาณเตือนของ Stroke  ที่หลายคนเคยเป็น

อาการทั้ง 6 ชนิดเป็นอาการของสโตรก ซึ่งแต่ละบุคคลอาจจะมีอาการ และสัญญาณของโรคที่แตกต่างกันหากพบความผิดปกติควรหาเวลาว่างเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

ประเภทของโรคสโตรก ที่พบได้บ่อย

โรคสโตรกที่พบบ่อย มีอยู่ 3 ประเภท ทั้ง 3 ชนิดมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและอายุของผู้ป่วย

1.โรคสโตรกชนิดขาดเลือด หรือ ภาวะโรคสมองตีบและตัน (Ischemic Stroke) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดสมอง โดยมีสาเหตุมาจากลิ่มเลือดหรือคราบไขมันที่สะสมในหลอดเลือด รักษาด้วยการทานยา

2. สโตรกชนิดเลือดออก หรือ ภาวะโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากหลอดเลือดในสมอง ทำให้เลือดไหลเข้าสู่เนื้อเยื่อสมอง รักษาได้โดยการผ่าตัด 

3. สโตรกชั่วคราว หรือ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack - TIA) เป็นอาการสโตรกที่เกิดขึ้นเวลาสั้นๆ เกิดขึ้นไม่ถึง 24 ชั่วโมง ทำให้สมองเสียหายถาวร มีโอกาสเสี่ยงเกิด อัมพฤกษ์ และ อัมพาต ได้ 

การดูแลผู้ป่วยโรคสโตรก

การดูแลผู้ป่วยโรคสโตรก มักต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และพยาบาลอย่างใกล้ชิด เพราะ Stroke มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันต่อสมอง หรืออาการชาอ่อนแรงบริเวณแขนขาหากไม่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีอาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิต การรักษาต้องฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย สมอง และจิตใจ เช่น การทำกายภาพบำบัด การฝึกพูด หรือการดูแลด้านโภชนาการ อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและลดโอกาสในการเกิดซ้ำ ทางที่ดีควรหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีมาตรฐาน และน่าเชื่อถือ ที่ PANACEE Nursing Care ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเฉพาะทางด้านโรคหลอดเลือดสมอง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคสโตรก ไม่ว่าจะเป็นการดูแลด้านการทำกิจวัตรประจำวัน การติดตามอาการ การให้คำแนะนำในการป้องกันการเกิดซ้ำ รวมถึงการให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัว ที่ PANACEE Nursing Care ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้ผู้ป่วย ให้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติ

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ต้องระวัง เสี่ยงเกิดโรคเรื้อรัง

ภูมิคุ้มกันบำบัด ใช้ภูมิคุ้มกันสู้มะเร็ง ทางเลือกใหม่ในการรักษา

โรงพยาบาลรักษามะเร็ง PANACEE พระราม 2 ศูนย์ดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบบูรณาการที่ทันสมัย